ที่มาของรูป www.gotobangalore.com 

การดูแลรักษาสุขภาพ

4.1 การเฝ้าสังเกตสุขภาพของท่าน
4.2 การบำบัดรักษา
4.3 การบำบัดเสริมชนิดต่าง ๆ

4.1 การเฝ้าสังเกตสุขภาพของท่าน

การมีชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไววีโดยปกติหมายถึงการดูแลสุขภาพของท่านเสียใหม่ เชื้อเอชไอวีอาจต่างจากที่เราคาดคิดไว้ได้เป็นอย่างมาก บางคนไม่มีอาการใด ๆ เป็นเวลาหลายปี ในขณะที่คนอื่นๆ มีช่วงสุขภาพดีอยู่เป็นช่วงนานๆ สลับกับการเจ็บป่วยในบางครั้ง แต่บางคนอาจรู้สึกไม่สบายเกือบตลอดเวลา
สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือจากวินาทีที่เชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระแสเลือดของท่านแล้ว มันก็จะเพิ่มจำนวนและทำอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันของท่าน
สิ่งสำคัญในการที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีก็คือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคอื่นๆ และชลอการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์
วิธีหนึ่งในจำนวนวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะทำเช่นนี้ คือ การเฝ้าสังเกตสุขภาพของท่าน
การเฝ้าสังเกตสุขภาพหมายถึง การพบแพทย์อยู่เสมอเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปและตรวจเลือด การพบทันตแพทย์อยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ
ผู้มีเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต่างๆ หลายโรคที่คนมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงจะไม่เป็น โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคแทรกซ้อน (ออพพอร์ทูนิสติค อินเฟ๊คชั่น, opportunistic infections) ซึ่งสามารถทำให้ท่านป่วยมากได้ ตัวอย่างของโรคเหล่านี้ก็คือ โรคนิวมอเนีย (ปอดอักเสบ) ชนิดนิวมซิสทิส คารินี (pneumocystis carini pneumonia, PCP) ซึ่งเป็นโรคนิวมอเนียชนิดที่แทบจะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง
แพทย์ของท่านสามารถสั่งจ่ายยาช่อยป้องกันมิให้โรคร้ายแรงบางอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นได้ การกินยาเพื่อจุดประสงค์นี้เรียกว่าการกินยาป้องกันโรคแทรกซ้อน  (พร็อพฟิแล็กซิส, prophylaxis)
การตรวจเลือดอยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน เพราะแพทย์จะสามารถเห็นได้ว่า ได้เกิดอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันของท่านแล้วหรือยัง และเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด
การตรวจเลือด ตามปกติมีสองอย่าง คือ
การตรวจหาจำนวนเชื้อไวรัส เรียกว่า ไวรัลโลด เทสต์ (Viral Load Test)
  • ไวรัล โลด (Viral Load) คือจำนวนเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในเลือดของท่าน เชื้อเอชไอวีเพิ่มจำนวนและถ่ายเทเชื้อตัวใหม่เข้าสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง
  • การตรวจพบจำนวนเชื้อเอชไอวีในเลือดปริมาณหนึ่ง ช่วยให้แพทย์สามารถคาดคะเนได้ว่าเชื้อไวรัสเหล่านี้แตกตัว เพิ่มจำนวนรวดเร็วเพียงใด
ตัวเลขที่เป็นผลการตรวจไวรัส โลด ยิ่งสูงหมายถึงว่าการแตกตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีก็ยิ่งรวดเร็วขึ้น และมีแนวโน้มว่า ระบบภูมิคุ้มกันของท่านกำลังได้รับอันตราย
การตรวจนับซีดีโฟร์ เรียกว่าซีดีโฟร์เค้าน์ท (CD4 Count)
  • เซลล์ ซีดีโฟร์ คือ เซ็ลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของท่านที่เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าไปแล้วก็จะทำลายมันลงทีละน้อย ๆ
การตรวจนับจำนวนเซลล์ ซีดีโฟร์ที่ปรากฏในเลือดของท่านจะช่วยให้แพทย์มีความเข้าใจดีขึ้นว่าร่างกายของท่านต่อสู้เชื้อเอชไอวีได้ดีเพียงใด
โดยปกติการตรวจเลือดทั้งสองชนิดนี้จะกระทำในคราวเดียวกัน  แพทย์จะเปรียบเทียบผลการตรวจทั้งสองอย่างนี้ เพื่อดูว่าระบบภูมิคุ้มกันของท่านยังเป็นปกติดีเพียงใดหลังจากระยะเวลาหนึ่งผ่านไป การตรวจเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเห็นภาพระบบภูมิคุ้มกันของท่านเอง และความเป็นไปของเชื้อเอชไอวีในร่างกายของท่าน
เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้องแพทย์อาจขอให้ท่านตรวจเลือดทั้งสองชนิดนี้เป็นระยะ ๆ รวมแล้วปีละ 4 ถึง 6 ครั้ง
การเฝ้าสังเกตสุขภาพของท่านกระทำได้ดังนี้
  • พบแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจร่างกายตามปกติ
  • ทำตัวให้คุ้นเคยกับสภาพร่างกายและสุขภาพของท่านเอง
  • สังเกตดูความเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจบ่งบอกว่าระบบภูมิคุ้มกันของท่านเริ่มทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม
  • ดูแลรักษาสุขภาพอันดีของปากและฟัน
  • 4.2 การบำบัดรักษา

    ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการรักษาเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ให้หายขาด อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมาได้มีการผลิตยาใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาหลายชนิดเพื่อต่อสู้เชื้อเอชไอวีและชลอการเป็นโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเอดส์ โดยการลดอันรายที่เชื้อไวรัสจะกระทำต่อระบบภูมิคุ้มกัน

    ยาสำหรับต้านเชื้อเอชไอวีเรียกว่ายาต้านไวรัส (แอนตี้-เรทโทรไวรัลส์, Anti-retrovirals) แตกต่างจากยาที่ท่านอาจได้รับเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อแทรกซ้อน ยาต้านไวรัสไม่สามารถทำลายเชื้อเอชไอวีให้หมดไป แต่ยาจะชลอและมุ่งหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกายของท่าน

    นั่นหมายความว่า:
    • การเพิ่มจำนวนของไวรัลในเซลล์ซีดีโฟร์ ของท่านลดน้อยลง
    • ตัวเลขที่เป็นผลของการตรวจไวรัสโลดลดลง (นั่นคือมีจำนวนไวรัสปรากฏในกระแสเลือดของท่านน้อยลง)
    • ลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบภูมิคุ้มกันของท่าน และ
    • ชลอการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับโรคเอดส์ และอาจหยุดยั้งมิให้โรคเหล่านั้นเกิดขึ้น

    ท่านอาจเคยได้ยินเรื่องที่ว่า มีผู้กินยาต้านไวรัสที่ได้รับการบอกหลังการตรวจเลือดว่าตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดแล้ว เหตุการณ์เช่นนี้หมายถึงจำนวนเชื้อไวรัสลดลงไปอยู่ในระดับที่ไม่อาจตรวจพบได้ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายของคนนั้นอีกต่อไป แต่หมายความว่าจำนวนเชื้อไวรัสลดน้อยลงมากจนกระทั่งไม่อาจตรวจพบและนับจำนวนได้ จุดมุ่งหมายของยาต้านไวรัสก็คือ ลดจำนวนไวรัสให้น้อยลงจนถึงระดับที่ตรวจหาไม่พบ อย่างไรก็ตามเชื้อเอชไอวีก็ยังคงมีอยู่ในกระแสเลือดและของเหลวอื่นๆ ของร่างกายและยังคงสามารถแพร่ไปยังผู้อื่นได้ ยาต้านไวรัสทำงานแตกต่างกันไปในร่างกายของแต่ละคน คนที่ดีที่สุดที่ท่านควรพูดคุยด้วยเกี่ยวกับการบำบัดรักษา (Treatment) คือเพทย์ที่จะสั่งจ่ายยาต้านไวรัสให้ท่าน ถ้าแพทย์ของท่านไม่มีประสบการณ์ในเรื่องเอชไอวี/โรคเอดส์ หรือไม่อาจสั่งจ่ายย่าเหล่านนี้ได้ ท่านอาจนัดหมายพบแพทย์ในคลีนิคสุขภาพทางเพศหรือโรงพยาบายใหญ่ที่อยู่ใกล้บ้านท่านที่สุด เจ้าหน้าที่ด้านรักษาที่สภาโรคเอดส์ในรัฐหรือเขตเทอริทอรี่ของท่านสามารถให้คำแนะนำในเรื่องนี้ได้เช่นกัน

    หัวข้อที่ท่านควรพิจารณาในการรักษา คือ
    • ยาต้านไวรัสไม่ได้ทำงานได้ดีเท่าเทียมกันในร่างกายของทุกคนที่กินยา แพทย์จะให้คำแนะนำแก่ท่านได้
    • บางคนได้รับผลข้างเคียง (Side effects) จากยาเหล่านี้ เรื่องสำคัญคือ ถ้าท่านรู้สึกไม่สบายหลังการใช้ยา ท่านจะต้องบอกให้แพทย์ทราบ
    • ยาต้านเชื้อเอชไอวีส่วนมากจะต้องกินตรงตามเวลาที่กำหนดและบางครั้งแม้แต่ในตอนกลางดึก เพื่อให้ยาเหล่านี้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
    • บางครั้งเชื้อเอชไอวีอาจดื้อยาและทำให้ยาหยุดทำงาน การสังเกตสุขภาพจะช่วยให้แพทย์ทราบว่ายาได้รับการต่อต้านหรือไม่
    • ท่านอาจต้องการลองใช้การบำบัดรักษาด้วยวิธีธรรมชาติหรือการบำบัดเสริม (natural or complementary therapies) บางคนใช้วิธีธรรมชาติเท่านั้น และบางคนอาจใช้วิธีธรรมชาติร่วมกับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน
    • ยาประเภทกระตุ้นอารมณ์ เช่น ยาอี-เอ๊กซ์สตาซี่ (ecstasy) มีปฏิกรยาในทางลบกับยาต้านไวรัส ถ้าท่านกำลังรับการรักษาและคิดจะใช้ยาเหล่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์ของท่านหรือเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาแห่งสภาโรคเอดส์
    • การเริ่มใช้ยาต้านไวรัสเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ หลายคนพบว่าสุขภาพของตนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเริ่มใช้ยาต้านไวรัน และสุขภาพในระดับดีเช่นนี้อาจดำเนินไปเป็นเวลาหลายปี
    อย่างไรก็ตามนั่นเป็นการตัดสินใจของท่านว่าจะรับการรักษาหรือไม่และเมื่อไรจะเริ่มรับการรักษา “ฉันเริ่มการรักษาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตอนนั้นฉันไม่สบายมากและต้องเข้าโรงพยาบาลสองสามครั้ง การปกปิดเรื่องไว้จากพ่อแม่และเพื่อนเริ่มเป็นเรื่องยาก การรักษาทำให้สุขภาพของฉันดีขึ้นเป็นอย่างมาก ตอนนี้ปัญหาที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวก็คือการที่ต้องกินยาหลายเม็ด ฉันต้องจัดระเบียบเพราะยาบางชนิดต้องกินตอนท้องว่างและบางชนิดต้องกินพร้อมอาหาร และชนิดอื่นๆ ต้องกินหลังอาหาร นั่นเป็นเรื่องยากได้บางครั้ง แต่สำหรับฉันแล้วมันมีค่าคุ้มกับความยากลำบาก”

    4.3 การบำบัดเสริมขนิดต่าง ๆ

    หลายคนที่มีเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ เลือกใช้การบำบัดเสริม (Complementary therapies) (หรือเรียกอีกอย่างว่าการบำบัดทางเลือก, Alternative therapies) ได้แก่การบำบัดแบบสะกดจิต (ฮิพโนเทอระพิ, Hypnotherapy) ยาจีน การรักษาแบบคล้อยตามอาการ (Homoeopathy) การฝังเข็ม (แอคคิวพังค์เชอร์, Acupuncture) การบำบัดด้วยวิธีทางฟิสิกส์ (แนทชูร็อพพะธิ) และการนวดแบบต่างๆ บางคนเลือกใช้เฉพาะการบำบัดเสริม และบางคนก็ชอบที่จะใช้การบำบัดเสริมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างควบคู่ไปกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ต่อไปนี้คือหัวข้อที่ควรพิจารณาเมื่อท่านกำลังใช้หรือคิดจะใช้การบำบัดเสริม
    • ซื่อตรงต่อผู้ให้การบำบัดรักษาเพื่อการวินิฉัยอย่างถูกต้องและการบำบัดรักษาที่เหมาะสม
    • ท่านกำลังใช้ยาต้านไวรัสและการบำบัดเสริมท่านจำเป็นต้องบอกให้แพทย์ทราบ การบำบัดเสริมบางอย่างอาจขัดแย้งกับการทำงานของยาต้านไวรัส
    • จงระมัดระวังในการใช้การบำบัดเสริม ท่านอาจได้รับผลข้างเคียงและปฏิกริยาร้ายแรงจากการบำบัดรักษาเหล่านี้ได้เช่นเดียวกับที่อาจเกิดจากการแพทย์แผนปัจจุบัน
    • ใช้เวลาไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่าการบำบัดรักษาวิธีใดบ้างที่ท่านต้องการใช้
    • เลือกผู้บำบัดรักษาอย่างระมัดระวังเช่นเดียวกันกับที่ท่านจะเลือกแพทย์แผนปัจจุบัน
    • เช่นเดียวกันกับยาชนิดต่างๆ ไม่มีการบำบัดเสริมวิธีใดที่จะรักษาเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ให้หายขาด
ที่มา :http://www.mhahs.org.au

Categories:

Leave a Reply

    Blogger news

    Blogroll

    About